ทองคำ(Gold) เป็นโลหะชนิดหนึ่ง โดยเป็นแร่ธรรมชาติซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่มีความคงทนต่อการผุกร่อน ซึ่งมนุษย์นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนั้นยังนำมาทำเป็นเหรียญ หรือตัวแปรค่าเงินสำหรับกองทุนสำรองเงินตราทั่วโลกอีกด้วย

คุณสมบัติของทองคำ

            ทองคำเป็นโลหะที่อ่อนและเหนียว และยังเป็นโลหะที่ไม่ละลายในกรดชนิดใดเลย แต่สามารถละลายได้อย่างช้าๆ คุณสมบัติของทองคำอีกประการหนึ่งคือ มีความแวววาวอยู่ตลอดเวลา เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมอง และไม่เกิดสนิมอีกด้วย โดยตัวทองคำเองนั้นเราสามารถยืดและแผ่ขยายออกได้ทั้งเป็นเส้นลวดยาวถึง 8,000 เมตร หรืออาจจะตีแผ่ออกเป็นแผ่นบางๆได้ถึง 100 ตารางฟุตเลยทีเดียว แถมทองคำยังเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีอีกเช่นกัน

            ทองคำได้รับความนิยมสูงสุดในวงการเครื่องประดับทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศทั่วโลก เพราะเป็นโลหะที่มีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้

  1. ความงดงามมันวาว (Lustre) : มีสีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาว ทำให้เกิดความงดงามมันวาวในตัวของมันเอง
  2. ความคงทน (Durable) : มีความคงทนแข็งแรง ไม่ขึ้นสนิม ไม่หมองหม่น และไม่ผุกร่อนได้ง่าย
  3. หายาก (Rarity) : เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่หาได้ยาก เนื่องจากอยู่ชั้นใต้ดินลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้ขุดเหมืองลงไปค่อนข้างยากและเสียค่าใช้จ่ายงบประมาณในการขุดทองค่อนข้างสูง จึงทำให้ค่าของทองคำสูงตามไปด้วย
  4. นำกลับไปใช้ได้ใหม่ (Reuseable) : สามารถนำกลับมาหลอมใหม่ได้นับครั้งไม่ถ้วน  จึงทำให้ทองคำนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับในทุกรูปแบบ เพราะเป็นโลหะที่มีความเหนียว และอ่อนนิ่มสามารถนำมาขึ้นรูปได้โดยง่าย

การกำหนดคุณภาพของทองคำ

            ทองคำบริสุทธิ์ 99.99% หรือที่เรียกกันว่า ทองคำ 24 กะรัต(Karat) ในระบบของสากล ซึ่งใช้เกณฑ์การบ่งบอกคุณภาพของเนื้อทองคำโดยมีชื่อเรียกว่า ทองเค ซึ่งทองคำบริสุทธิ์ 24 กะรัตนั้นจะไม่มีสารอื่นเจือปนอยูเลย แต่หากมีความบริสุทธิ์ของทองคำลดต่ำลงมานั้น ก็แสดงให้เห็นว่ามีโลหะประเภทอื่นเจือปะมากขึ้นตามสัดส่วน เช่นทอง 18 กะรัต หมายถึงทองที่มีเนื้อทองบริสุทธิ์อยู่ 18 ส่วน และมีโลหะชนิดอื่นเจือปนอยู่ 10 ส่วน เป็นต้น

กะรัต

สัญลักษณ์

เปอร์เซ็นต์

เฉดสีที่ได้

นิยมในประเทศ

24 24K 100% ทอง สวิสเซอร์แลนด์
22 22K 91.7%    
21 21K 84.5%    
18 18K 75%    
14 14K  58.3%    
10 10K 41.6%    
9 9K 37.5%    
8 8K 33.3%    

            สำหรับประเทศไทยนั้นใช้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำอยู่ที่ 96.5% หากเปรียบเทียบกะรัตแล้วจะอยู่ที่ 23.16K ซึ่งสีทองที่ได้นั้นจะเป็นสีเหลืองเข้ม และมีความแข็งของเนื้อทองพอเหมาะ เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นเครื่องประดับมากที่สุด

 

หน่วยวัดน้ำหนักทองคำ

  • กรัม(Grammes) : ถือว่าเป็นหน่วยวัดระดับสากล
  • ทรอยออนซ์(Troy Ounces) : ถือว่าเป็นหน่วยวัดน้ำหนักที่ใช้ในการกำหนดราคาซื้อขายกันในตลาดโลก
  • ตำลึง, เทล(Taels) : ถือว่าเป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้กันในประเทศ จีน, ไต้หวัน และฮ่องกง
  • โทลา(Tolas) : ถือว่าเป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้กันในประเทศ สิงคโปร์, อินเดีย, ปากีสถาน และแถบตะวันออกกลาง
  • ชิ(Chi) : ถือว่าเป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้กันในประเทศ เวียดนาม
  • ดอน(Don) : ถือว่าเป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้กันในประเทศ เกาหลีใต้
  • บาท(Baht) : ถือว่าเป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้กันในประเทศ ไทย
  • Mesghal : ถือว่าเป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้กันในประเทศ อิหร่าน

การแปลงหน่วยวัดทองคำ

  • 1 กิโลกรัม                                  เท่ากับ                           32.1508 ทรอยเอานซ์
  • 1 ทรอยเอานซ์                             เท่ากับ                           31.1034807 กรัม
  • 1 ตำลึง                                      เท่ากับ                           37.429 กรัม
  • 1 โทลา                                      เท่ากับ                           11.6638 กรัม
  • 1 ชิ                                           เท่ากับ                           3.75 กรัม
  • 1 ดอน                                       เท่ากับ                           3.75 กรัม
  • 1 Mesghal                                  เท่ากับ                           4.6083 กรัม
  • 1 บาท (ทองคำแท่ง)                     เท่ากับ                           15.244 กรัม 
  • 1 บาท (ทองรูปพรรณ)                   เท่ากับ                           15.16 กรัม
  • 1 บาท                                        เท่ากับ                           4 สลึง
  • 1 สลึง                                        เท่ากับ                           10 หุ๋น 
  • 1 หุ๋น                                         เท่ากับ                           0.38 กรัม

 

ซึ่งการกำหนดน้ำหนักของทองคำในประเทศไทยนั้นมีหน่วยวัดเป็น บาท โดยทองคำแท่ง 1 บาท หนัก 15.244 กรัม และส่วนทองรูปพรรณ 1บาท หนัก 15.16 กรัม

 

วิธีการดูแลรักษาเครื่องประดับทองคำ

ใช้น้ำยาล้างจิวเวลรี่ผสมกับน้ำร้อน แล้วนำเครื่องประดับทองลงไปแช่ไว้จนกว่าน้ำจะมีอุณหภูมิปกติ จากนั้นให้นำแปรงสีฟันขนอ่อนมาขัดที่ตัวเรือนเบาๆ และล้างออกด้วยน้ำสะอาด จากนั้นใช้ผ้านุ่มๆเช็ดให้แห้ง การเก็บรักษาให้หลีกเลี่ยงจากฝุ่น ความชื้น เหงื่อไคล และเครื่องสำอางค์ต่างๆ อาจจะเก็บไว้ในกล่อง หรือถุงผ้านิ่มๆ เพื่อแยกเป็นสัดส่วน และไม่ทำให้ตัวเรือนเกิดรอยขีดข่วน

 

 

บทความดังกล่าวข้างต้นจัดทำโดยทีมงาน บริษัท เลนญ่า จิวเวลรี่ จำกัด ทางเราจึงขอสงวนสิทธิ์ การคัดลอกเนื้อหาทุกบทความของทางบริษัทฯ
กรณีต้องการนำข้อมูลไปใช้หรืออ้างอิง กรุณาติดต่อทีมงานค่ะผ่าน LINE: @LenyaJewelry ค่ะ