พลอยเนื้ออ่อน เลือกยังไงให้ใช่และโดน
 
พลอยเนื้ออ่อน  หมายถึง พลอยแทบทุกชนิดที่มีค่าความแข็งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 7 – 7.5 โมห์สเกล ซึ่งอัญมณีในกลุ่มของพลอยเนื้ออ่อนที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี  ก็คือพลอยที่จัดอยู่ในกลุ่มของแร่ควอตซ์ (Quartz)  ซึ่งเป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลก รองจากแร่เฟลด์สปาร์ นั่นเอง  ควอตซ์ เป็นอัญมณีที่มีผลึกภายในโปร่งใส มีความแวววาวแบบแก้ว  แต่จะเปลี่ยนสีได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนสูง จึงมีการนำแร่ควอตซ์หลายชนิดมาเผาไฟเพื่อสรรสร้างอัญมณีชนิดใหม่ๆ  ที่น่าสนใจขึ้นมา  อย่างเฃ่น การนำ อเมทิสต์ มาเผาไฟด้วยความร้อนสูง จะทำให้เกิดอัญมณีสีเหลืองที่เรียกว่า “ซิทริน” เป็นต้น

ภายในอัญมณีควอตซ์ ประกอบไปด้วยของเหลวที่มีความเข้มข้น 2 สถานะ (2Phase) คือทั้งในรูปของฟองอากาศ และในรูปผลึกทั้งยังพบว่าในแร่ควอตซ์แต่ละชนิดยังมีแร่ธาตุเป็นส่วนผสมภายในอีกมากมายกว่า 40 ชนิด  และนี่เองคือสาเหตุที่คนโบราณเชื่อกันว่า ควอตซ์  หรือพลอยเนื้ออ่อนชนิดต่างๆ มีพลังในการรักษาโรคต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างอัญมณีในตระกูลควอตซ์ หรือพลอยเนื้ออ่อนที่เรารู้จักกันดี ได้แก่

อเมทิสต์ (Amethyst) ซิทริน (Citrine) ร็อคคริสตัล (Rock Crystal) เทอร์ควอยซ์ (Turquoise) โอปอล (Opal) ทัวร์มาลีน (Tourmaline) โรโดไลต์ (Rhodolite) โรสควอตซ์  (Rose Quartz) สโมกกี้ควอตซ์ (Smoky Quartz) เลมอนควอตซ์ (Lemon Quartz) มูนสโตน  (Moonstone) อะเวนจูรีน (Aventurine) แอสเทอริซึม หรือสตาร์ (Asterism or Star Quartz) รูทิเล็ทเต็ท (Rutilated) เช่น พลอยในกลุ่มที่เรียกว่าไหมต่างๆ อาทิ ไหมเงิน  ไหมนาค ไหมดำ (แก้วขนเหล็ก) พลอยในกลุ่มคาลซิโดนี (Chalcedony) เช่น แจสเปอร์ อาเกต บลัดสโตน คาร์เนเลี่ยน คริสโซโคล่า ออนิคซ์ 

พลอยกลุ่มคอลันดัม เช่น เพอริดอท (Peridot) เพทาย (Beryl) อะความารีน  (Aquamarine) สปิเนล (Spinel) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี พลอยตาเสือ (Tiger’s Eye)  พลอยตาเหยี่ยว (Hawk’s Eyes) และพลอยตาแมว (Cat’s Eye) เป็นต้น

สำหรับวิธีการเลือกซื้อพลอยชนิดนี้ อาจต้องใช้ความชำนาญในการเลือกสักหน่อย โดยการพิสูจน์   “น้ำ” และ “ไฟ” หรือความแวววาวของเม็ดพลอย การหักเหของแสง และ พิจารณาที่เนื้อพลอย ว่ามีรอยขูดขีด มีตำหนิในเนื้อพลอยมากน้อยแค่ไหน น้ำงามหรือไม่  มีประกายเจิดจรัสแค่ไหนยามต้องแสงไฟ  นอกจากนี้การพิจารณาจากรูปลักษณ์การออกแบบ และการเจียระไนของช่างฝีมือผู้ชำนาญงาน ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น พลอยบางชนิดอาจเหมาะแก่การนำมาเจียระไนแบบหลังเต่า หรือแบบหลังเบี้ย เช่น เทอร์ควอยซ์ โอปอล แจสเปอร์ พลอยตาเสือ พลอยตาแมว พลอยตาเหยี่ยว พลอยในกลุ่มไหมต่างๆ เช่น ไหมเงิน ไหมนาค ไหมดำ และพลอยมูนสโตน เป็นต้น

ในขณะที่พลอยบางชนิดเหมาะแก่การเจียระไนแบบคัทติ้งหรือการเน้นเหลี่ยมมุมที่สวยงาม เพื่อแสดงถึงการหักเหของแสงที่แวววาวเป็นประกายเจิดจรัส เช่น อะเมทิสต์  ซิทริน ทัวร์มารีน อะความารีน เพอริโด สตาร์ เพทาย โรโดไลต์ โครมไดออปไซต์

อย่างไรก็ตาม ความสวยงามของการออกแบบ ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อพลอยเนื้ออ่อน มาไว้เป็นเครื่องประดับชิ้นโปรด ที่เป็นได้ทั้งเครื่องประดับ และเครื่องรางประจำกายผู้สวมใส่ด้วยเช่นกัน.

อ่านบทความเกี่ยวกับการดูแลรักษาพลอยเนื้ออ่อน 

 

บทความดังกล่าวข้างต้นจัดทำโดยทีมงาน บริษัท เลนญ่า จิวเวลรี่ จำกัด ทางเราจึงขอสงวนสิทธิ์ การคัดลอกเนื้อหาทุกบทความของทางบริษัทฯ
กรณีต้องการนำข้อมูลไปใช้หรืออ้างอิง กรุณาติดต่อทีมงานค่ะผ่าน LINE: @LenyaJewelry ค่ะ